มาตรการฝ้าระวังและผลกระทบต่อสุขภาพจากโรคไข้หวัดใหญ่

สร้างการรับรู้ให้ประชาชนในพื้นที่ทราบว่า โรคไข้หวัดใหญ่ เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อไวรัส อาการที่พบบ่อย คือ มีไข้ ไอ จาม มีน้ำมูก เจ็บคอ ปวดเมื่อยตามร่างกาย อ่อนเพลีย โดยเชื้อสามารถติดต่อ จากคนหนึ่งไปอีกคนหนึ่งโดยการหายใจ ได้รับน้ำมูกหรือสมหะของผู้ป่วยโดยเชื้อจะผ่านทางเยื่อบุตา จมูกและปาก สัมผัสสิ่งปนชื้อโรค เช่น ผ้าเช็ดหน้า ข้อน แก้วน้ำ โดยมีบุคคลกลุ่มเสี่ยง ดังนี้

(๑) เด็กอายุน้อยกว่า ๖ เดือน

(๒) ผู้สูงอายุตั้งแต่ ๖๕ ปีขึ้นไป

(๓) ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น ผู้ป่วยที่ได้รับยาเคมีบำบัด และผู้ป่วยที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน

(๔) ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจ โรคปอด โรคหืด โรคไตวายเรื้อรัง

(๕) ผู้พิการทางสมอง ในกรณีที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้

(๖) ผู้ที่มีภาวะอ้วน หรือน้ำหนักเกินมาตรฐาน BMI

๒. อาการของโรคไข้หวัดใหญ่

(๑) มีไข้สูง

(๒) มีอาการไอ เจ็บคอ

(๓) ปวดเมื่อยตามร่างกาย

(๔) อ่อนเพลีย

๓. การป้องกันตนเองจากโรคไข้หวัดใหญ่ ดังนี้

(๑) รับประทานอาหารที่มีประโยชน์

(๒) พักผ่อนให้เพียงพอ

(๓) หลีกเสี่ยงการไปในสถานที่ที่แออัด

(๔) สวมหน้ากากอนามัยเมื่อต้องออกไปนอกบ้าน

(๕) ไม่คลุกคลีหรืออยู่ใกล้ชิดผู้ป่วย หากมีผู้ป่วยในบ้านควรแยกของใช้ส่วนตัวให้ชัดเจน

(๖) ล้างมือบ่อย ๆ ด้วยน้ำหรือสบู่

(๗) ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่เป็นประจำทุกปี

Categories: กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม,สาระน่ารู้